วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส่วนประกอบของเมนบอร์ดที่สำคัญๆ มีดังนี้

1. ชิปเซ็ต (Chipset)
เมนบอร์ดจะมีความสามารถในการรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับชิปเซ็ตเป็นหลัก สำหรับหน้าที่ของชิปเซ็ต คือ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ หลักๆ คือ

1.1 NorthBridge
ชิปเซ็ตที่กำหนดว่าเมนบอร์ดของคุณนั้น มีความสามารถในการรองรับความเร็วของซ๊พียูได้ในระดับไหน หรือ สนับสนุนหน่วยความจำประเภทไหนได้บ้าง โดยชิปเซ็ตนี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสสูงๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ และการ์ดแสดงผล

1.2 SouthBridge ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสไม่สูงมากนัก เช่น พอร์ต IDE ระบบบัส PCI และอื่นๆ โดยชิปเซ็ต SouthBridge ที่เด่นๆ ในปัจจุบัน คือ ICH4 ของอินเทล ซึ่งเป็นการรวมความสามารถของ ยูเอสบี 2.0 และ ATA 100 มาไว้ในตัวด้วย ส่วนถ้าหากเป็นของทางค่าย SiS ก็จะมีตัว SiS961และ VIA VT8233A ของฝั่ง VIA

2. สล็อต หรือ ซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียู

เป็นส่วนที่ใช้สำหร้บเสียบซีพียูลงไป ซึ่งเมนบอร์ดส่วนไหญ่ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จะเป็นแบบซ็อกเก็ตมากกว่าที่จะเป็นแบบสล็อต เพราะมีต้นทุนในการผลิตที่ถูกกว่านั่นเอง เรามารู้จักสล็อต และซ็อกเก็ตสำหรับติดตั้งซีพียูกันดีกว่า

2.1 Slot สำหรับอินเทอร์เฟตแบบสล็อตนี้ ก็จะมีทั้งแบบสล็อต 1 สล็อต A ขึ้นอยู่กับซีพียูที่คุณใช้ หากเป็นของทางฝั่งอินเทล ก็จะเป็นแบบสล็อต 1 หรือหากเป็นเอเอ็มดี ก็ใช้แบบสล็อต A แต่ในปัจจุบันนี้ เราไม่ค่อยพบเห็นเมนบอร์ดที่เป็นแบบสล็อตแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้กับซีพียูที่มีสถาปัตยกรรมแบบเก่า

2.2 Socket รูปแบบของเมนบอร์ดที่เป็นชนิดซ็อกเก็ตในปัจจุบันนี้ เป็นที่นิยม และ แพร่หลายมาก ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา ก็เป็นแบบซ้อกเก็ตหมดแล้วหากเป็นซีพียูเพนเทียม โฟร์ ก็จะมีอินเทอร์เฟตแบบซ็อกเก็ต 478 หรือถ้าเป็นตระกูลเพนเทียม ทรี และ เซลเลอรอน จะจะเป็นแบบซ้อกเก็ต 370 สำหรับซีพียูในตระกูลเอเอ็มดี ก็จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบซ็อกเก็ต A หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ซ็อกเก็ต 462 โดยจำนวนตัวเลขที่เห็นอยู่นั้น แสดงถึงจำนวนขาของซีพียูนั่นเอง

3. BIOS (Basic Input/Output System)

เป็นชิปสำหรับใช้เก็บโปรแกรม และข้อมูลขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตระบบของคอมพิวเตอร์และควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ การเซ็ตค่าต่างๆ ของอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์ ไบออสรุ่นใหม่ๆ จะสนับสนุนการทำงานแบบ Plug & Play และเราสามารถทำการอัพเดตไบออสให้รองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Flash ROM ซึ่งหน่วยความจำแบบ ROM นี้อาศัยไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ก้อนเล็กๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลได้แม้ปิดเครื่อง

4. สล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำหลัก

ในปัจจุบัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่มักจะมีสล็อตติดตั้งหน่วนความจำหลักมาให้อยู่ 3 ชนิด ได้แก่ หน่วนความจำแบบ SDRAM, DDR SDRAM สล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ มีลักษณะเป็นแถวเรียงกันอยู่ใกล้ๆกับชิปเซ็ต และซีพียู

4.1 สล็อตสำหรับ SDRAM เป็นสล็อตแบบ DIMM ขนาด 168 พิน สังเกตได้จากในภาพว่าใน 1 สล็อต จะมีช่องแบ่งไว้ 2 จุด ใช้ได้กับเฉพาะหน่วยความจำแบบ SDRAM เท่านั้น

4.2 สล็อต DDR SDRAM สำหรับสล็อตแบบนี้ เราเรียกสล็อตแบบ DDR DIMM มีขนาด 184 พิน โดยข้อแตกต่างที่สังเกตได้ง่าย คือ ตรงส่วนของสล็อต จะมีช่องแบ่งเพียงแค่ 1 จุด ใช้ได้กับหน่วยความจำแบบ DDR SDRAM

4.3 สล็อตสำหรับ RDRAM หรือเียนกันว่า RAMBUS ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานร่วมกับซีพียูเพนเทียม โฟร์ โดยเฉพาะ เพราะเป็นหน่วยความจำที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาหน่วยความจำชนิดอื่น สล็อตโมดูลของหน่วยความจำแบบ 184 พิน ซึ่งสังเกตได้จากช่องที่แบ่งจะอยู่ตรงกลาง 2 จุด

5. สล็อตเสริมสำหรับเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติมต่างๆ

ในเมนบอร์ดที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ได้ติดตั้งสล็อตเสริมเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานมาให้ด้วย ซึ่งสล็อตที่เราพบเห็นอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย

5.1 สล็อต PCI (Peripheral Component Interconect) เป็นสล็อตลักษณะยาวๆ สีขาว แต่ช่วงหลังๆ ผู้ผลิตต่างออกแบบให้มีสีสันที่สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ สล็อต PCI นี้ เป็นช่วงสำหรับรองรับกับการ์ดต่างๆ ที่มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI มีการส่งข้อมูลครั้งละ 32 บิต และมีความเร็ว 33 เมกะเฮิรตซ์

5.2 สล็อต ISA (Industry Standard Architecture) สำหรับสล็อตแบบนี้ มีการส่งข้อมูลครั้งละ 16 บิต มีลักษณะสีดำ รูปร่างของสล็อตจะมีขนาดที่ยาวกว่าสล็อต PCI เล็กน้อย ซึ่งปัจจุบันเราแทบไม่ค่อยได้พบเห็นสล็อต ISA ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ แล้ว ทั้งนี้เพราะการ์ดที่ออมมามักจะใช้อินเทอร์เฟซแบบ PCI กันหมดแล้ว

5.3 สล็อต AGP (Accelerated Graphics Port) สล็อต AGP มีความเร็วในการทำงานเป็น 66 เมกะเฮิรตซ์ 32 บิต และสนับสนุนเทคโนโลยี AGP2x ที่ใช้ช่วงแบนด์วิดธ์ในการรับ-ส่ง ข้อมูลได้มากถึง 2.1 กิกะไบต์ต่อวินาที สำหรับสล็อต AGP จะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Point-to-Point ซึ่งจะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูล ระหว่างการ์ดแสดงผลกับชิปเซ็ตของระบบทำได้เร็วขึ้น และยังมีเส้นทางเฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Render ภาพ แบบสามมิติ ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

5.4 สล็อต CNR (Communication and Networking Riser) ในเมนบอร์ดบางรุ่น บางยี่ห้อจะติดตั้งสล็อต CNR มาให้ด้วย ซึ่งสล็อตชนิดนี้ ใช้สำหรับใส่การ์ดจำพวกเน็ตเวิร์ค และการ์ดโมเด็ม ที่เป็นแบบรวมความสามารถทั้งสองอย่างเช้าด้วยกัน

6. IDE Connector

เป็นส่วนที่ใช้ต่อกับอุปกรณ์จำพวกดิสก์ไดรฟ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม หรือ ฟลอปปี้ดิสก์ ซึ่งอินเทอร์เฟซของ IDE ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดิสก์ไดรฟ์นี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนามาถึงเทคโนโลยี ATA 100 และ ATA 133 แล้ว ซึ่งจะมีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 100 และ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที สำหรับการทำงานของ IDE นี้ ถูกควบคุมโดยชิปเซ็ตด้าน SouthBridge และในอนาคตก็จะมีเทคโนโลยี Serial ATA ออกมาแทนเทคโนโลยี IDE แล้วด้วย เพราะเทคโนโลยี Serial ATA นี้ สามารถพัฒนาให้มีความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า 150 เมกะไบต์ต่อวินาที

7. พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกต่างๆ

พอร์ตต่างๆ เหล่านี้ จะอยู่ด้านหลังของเคส ในกรณีที่คุณประกอบเมนบอร์ดลงไปในเคสแล้ว โดยประกอบด้วย พอร์ต PS/2 ที่ใช้สำหรับต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด อีกทั้งยังมีพอร์ต Serial หรือ พอร์ตอนุกรม ซึ่งเป็นคอนเน็กเตอร์แบบ DB-9 มี 9 ขา ต่อมาก็เป็นพอร์ตพาราเรลสำหรับต่อพรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ หากเป็นเมนบอร์ดที่มีระบบเสียงออนบอร์ด ก็จะเพิ่มพอร์ต Audio มาให้ด้วย หรือถ้าเป็นระบบการแสดงผลออนบอร์ด ก็จะเพิ่มพอร์ต DB-15 สำหรับต่อกับจอมอนิเตอร์ นอกจากนี้ ยังมีพอร์ต ยูเอสบี ซึ่งแบ่งเป็น USB เวอร์ชัน 1.1 ที่มีความเร็ว 12 เมกะบิตต่อวินาที และ USB เวอร์ชัน 2.0 มีความเร็ว 480 เมกะบิตต่อวินาที


ลักษณะของเมนบอร์ด และส่วนประกอบต่างๆ บนเมนบอร์ด

ในอดีตเราแบ่งเมนบอร์ดออกเป็น 2 ประเภท คือ AT กับ ATX แต่ในปัจจุบันนี้ คงมีเพียง ATX เท่านั้น ที่นิยมใช้กัน เมนบอร์ดแบบ ATX นี้ ยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ ATX และ MicroATX ซึ่งมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของขนาด สล็อต และอุปกรณ์ออนบอร์ด โดยเมนบอร์ดแบบ MicroATX จะมีขนาดเล็กกว่า มีจำนวนสล็อตน้อยกว่า และจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ออนบอร์ดไว้ให้อย่างครบถ้วน เช่น ระบบแสดงผลออนบอร์ด ซึ่งจะทำให้เมนบอร์ดมีขนาดเล็ก เพราะมีการติดตั้งสล็อตสำหรับเพิ่มเติมอุปกรณ์ออกไป

เมนบอร์ด คือ

Mainboard

เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเมนบอร์ดเปรียบเสมือนศูนย์กลางในการทำงาน และเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, Hard Disk, CD-ROM, Floppy Disk, VGA Card เป็นต้น

ในอีกความหมายหนึ่ง

เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย



รายละเอียดส่วนต่างๆของเมนบอร์ด


ล็อตแรม DDR2 ทั้งสี่สล็อต... ไม่สิ... ต้องเรียกว่า Quad-DDR2 Slots ถึงจะเท่ :D รองรับความเร็ว DDR2-800MHz และความจุรวมสูงถึง 8GB


บริเวณซ็อกเกต LGA775 ที่เรียกว่ารองรับซีพียูอินเทล LGA775 เกือบทุกตัวในท้องตลาด รวมไปถึง Core 2 Duo และ Core 2 Extreme ที่กำลังจะเปิดตัวด้วย รอบๆ ซ็อกเกตก็ค่อนข้างโล่ง ไม่มีคาปาซิเตอร์ตัวสูงๆ มาเกะกะ ในกรณีที่จะใส่ฮีตซิงก์ขนาดใหญ่ๆ ครับ จะมีก็เพียงฮีตซิงก์ของภาคจ่ายไฟ ที่ก็ไม่ถือว่าชิดกับซ็อกเกตมากเท่าไรนัก ดูแล้วไม่น่าจะมีปัญหากับการติดตั้งคูลเลอร์แต่อย่างใด


สล็อต PCI Express x16 จำนวน สองสล็อต มีมาให้แบบเท่ๆ ไว้รองรับ Multi-Monitor เท่านั้น เพราะชิพเซ็ท P965 ไม่รองรับเทคโนโลยี Multi-GPU ครับ (ไม่รองรับทั้ง SLI และ CorssFire) นอกจากนี้ ยังมีสล็อต PCI
Express x1 มาให้ 3 สล็อต กับสล็อต PCI ปกติอีก 2 สล็อตด้วยกัน


ภาพนี้ ผมตั้งใจให้เห็นถึงการวางตัวของฮีตซิงก์และฮีตไปป์ ที่ช่วยในการระบายความร้อนอุปกรณ์ทั้ง 4 ชุดบนเมนบอร์ดตัวนี้ครับ จะเห็นว่ามีการออกแบบมาได้อย่างลงตัว เข้ากับตัวเมนบอร์ดพอดิบพอดี แบบไม่เกะกะขวางทางอุปกรณ์เชื่อมต่อตัวอื่นๆ อย่างแน่นอน


บริเวณชิปเซ็ทเซาท์บริจ Intel ICH8R ก็มีพอร์ท Serial-ATA มาให้มากถึง 8 พอร์ทครับ โดย 6 พอร์ทนั้น ควบคุมจากเซาท์บริจโดยตรง และอีกสองพอร์ทควบคุมจากชิป J-Micron


พอร์ท I/O ด้านหลังของเมนบอร์ด ประกอบไปด้วยพอร์ทมาตรฐานอย่างที่เห็น ส่วนที่ Gigabyte โฆษณาว่ามีพอร์ท eSATA มากถึง 4 พอร์ทนั้น จะมาจากตัว bracket ที่ให้มาในกล่องครับ ไม่ได้ติดมากับพอร์ท I/O บนเมนบอร์ด


ที่แปลกตา และสะดุดตาผมก็คือ BIOS ของเมนบอร์ดรุ่นนี้ครับ ที่บนเมนบอร์ดมี BIOS จำนวนสองตัว แต่ผมกลับหาไม่เจอ จนไล่ดูอย่างละเอียด ก็พบว่า เมนบอร์ดรุ่นนี้ ทาง Gigabyte ได้ย่อส่วนของ BIOS มาเหลือเป็นชิปเล็กๆ จำนวน 2 ตัว วางอยู่ระหว่างสล็อต PCI Express x16 ทั้งสองสล็อต เรียกว่ามั่นใจกับระบบ BIOS ของตัวเองมาก ติดมาให้แบบถอดเปลี่ยนไม่ได้กันเลย


จากนั้น ผมได้แกะชุด Quad-Cooling ของเมนบอร์ดออกครับ และนี่คือหน้าต่แบบเต็มๆ ของ Quad-Cooling บน
เมนบอร์ด Gigabyte GA-965P-DQ6 รุ่นนี้ (เป็นทองแดงล้วนๆ เลย)


เมื่อถอดระบบระบายความร้อนออกแล้ว เราก็จะเห็นภาคจ่ายไฟ 12-เฟส กับ MOSFET 24 ตัวอย่างชัดเจนครับ ซึ่งถือเป็นเมนบอร์ดที่ใส่ใจในเรื่องของภาคจ่ายไฟจริงๆ


และเมื่อถอดชุด Quad-Cooling ออก อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นก็คือตัวชิปเซ็ทครับ โดยเมนบอร์ดที่ผมได้รับมานั้น ตัวชิปเซ็ทนอร์ธบริจ P965 กับเซาท์บริจ ICH8R ยังเป็นตัว Engineering Sample อยู่ ส่วนหน้าตาก็เป็นแบบที่เห็นในภาพ ไม่แตกต่างอะไรจากชิปเซ็ทในตระกูลก่อนหน้าแต่อย่างใด


อีกหนึ่งความน่าสนใจ อยู่ที่ด้านหลังเมนบอร์ดครับ ที่รุ่นนี้ ทาง Gigabyte ได้ติดตั้งแผ่นระบายความร้อนบริเวณด้านหลังเมนบอร์ดด้วย เป็นฮีตซิงก์ตัวบางๆ แปะติดกับด้านหลังของซ็อกเกต LGA775 และด้านหลังของชิปเซ็ทนอร์ธบริจ P965 และทาง Gigabyte เรียกเจ้าแผ่นระบายความร้อนนี้ว่าแผ่น Crazy Cool


ปัญหาที่ผมพบกับแผ่น Crazy Cool ก็คือ ความหนาของมันครับ เพราะแผ่นที่มีความหนาขนาดนี้ ติดอยู่ด้านหลังของซ็อกเกต LGA775 จะส่งผลให้เราไม่สามารถติดตั้งฮีตซิงก์บางรุ่นได้ โดยเฉพาะรุ่นที่ต้องใช้แผ่นด้านหลังเมนบอร์ดมาติดตั้งก่อน อย่างเช่น Zalman CNPS9500 เป็นต้น... ทางเลือกก็คือ หาฮีตซิงก์ใหม่ หรือ
ถอดเจ้าแผ่น Crazy Cool ออกครับ


นี่คือแผ่น bracket ที่เป็นพอร์ท e-SATA 2 จำนวน 2 พอร์ทที่ให้มาในกล่องครับ ซึ่งเราจะต้องเสียบสาย SATA เข้ากับพอร์ทบนตัวเมนบอร์ดปกติพร้อมเสียบสายไฟเลี้ยง และ Gigabyte ก็ให้สายแปลงอินเตอร์เฟซ eSATA มาเป็น SATA ปกติ เพื่อให้เราสามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ SATA ทั่วไปมาเชื่อมต่อแบบ eSATA ข้างนอกได้ เป็นอีกหนึ่งความสะดวกสบาย ที่ผมยังไม่เคยเห็นจากเมนบอร์ดยี่ห้ออื่นครับ


ส่วนอุปกรณ์ที่บันเดิลมาให้ในกล่อง ก็มีสายสัญญาณ SATA สีส้มเข้ากับสีของพอร์ท, สายแพ ATA, bracket สำหรับยึดกราฟฟิคการ์ด และบริจสำหรับเชื่อมต่อ SLI ที่ผมไม่เข้าใจว่า จะให้มาทำไม เพราะเมนบอร์ดรุ่นนี้ไม่ได้มีการรองรับ SLI multi-GPU จากทาง NVIDIA อย่างเป็นทางการครับ